วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติวัดตาพระยา


วัดตาพระยา    ตั้งอยู่หมู่ที่ เลขที่ 180 บ้านตาพระยา  ต.ตาพระยา  อ.ตาพระยา  จ.สระแก้ว    วัดตาพระยาเป็นแหล่งสะสมโบราณวัตถุหลายชนิด  โดยพระครูประทีปปัจจันตเขต เป็นผู้ดูแลรักษาและจดบันทึกรายละเอียดไว้ อาทิ  พระพุทธรูปนาคปรกโบราณ  สร้างด้วยหินหน้าตักกว้าง 19 นิ้ว  สูงจากฐานถึงหัวนาค 27 นิ้ว  ประทับนั่งปางสมาธิ  สภาพชำรุด  ขุดพบที่บ้านโคกไพล  เมื่อประมาณ พ.ศ. 2490  เจ้าอาวาสสมัยนั้นได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดตาพระยา  เรียกกันว่า  หลวงพ่อทับพระยา  นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง  เรียกกันว่า  หลวงพ่อพัฒนาการ  พบในปี พ.ศ. 2503  ขณะที่ประชาชนพร้อมใจกันพัฒนา  ขุดสระใกล้คลองทางทิศเหนือ ของกิ่งอำเภอตาพระยาสมัยนั้น  และมีโบราณวัตถุที่เก็บรักษาอีกมากมาย อาทิ พระพุทธรูปปางมารวิชัย  รูปพระนารายณ์ 4 กร  รูปเทวสตรี  ใบเสมา  เศียรเทวรูป  เศียรพระนารายณ์  รูปนางอัปสร  เครื่องถ้วยเขมรที่ชาวบ้านขุดพบบริเวณปราสาทร้างเนินดิน  ในเขต อ.ตาพระยา  นำมาถวายวัดตาพระยา  มีทั้งหมด 11 ชิ้น  และมีชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมอย่างกลีบขนุนปรางค์รูปนาค 7 เศียร  อมรกะ  ฐานโยนี (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ,2545:64-70)  บนเนื้อที่ 58 ไร่  ประวัติวัดตาพระยา   เดิมวัดตาพระยานั้น  มีโรงเรียนในวัดตาพระยา  เมื่อปี พ..๒๔๖๐   ปัจจุบันได้ย้ายออกไปตั้งอยู่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอตาพระยา ชื่อว่าโรงเรียนชุมชนวัดตาพระยา  ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนอนุบาลตาพระยา  ได้ย้ายมาอยู่ที่ทิศตะวันออกของตลาด มาจนเท่าทุกวันนี้     วัดนี้ได้มีการอนุญาตตั้งวัดประมาณก่อนปี พ..๒๔๘๖  และมีอุโบสถเมื่อปีพ..๒๕๐๕ และมีรายนามชื่อผู้บริหารหรือเจ้าอาวาสดังนี้ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี 2529 รับพระราชทานโล่เสมาธรรมจักร จากพระเทพรัตนราชสุดา เมื่อปี 2538 ด้านการศึกษา  มีการศึกษาปริยัติธรรม ธรรม-บาลี และสายสามัญ ม.1,2,3, ด้านการปกครองวัด  มีภิกษุจำพรรษา ในพรรษา 52 รูป  นอกพรรษา 42 รูปด้านก่อสร้าง  กำลังก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์หลังใหญ่ สถานน่าเที่ยวชมในวัด   1.พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเทียบ ฯลฯ 2.เจ้าพระยาบดินทร์เดชา  3.สระน้ำปลาใหญ่  4.พระพุทธรูปองค์ใหญ่มีผู้บริหาร/เจ้าอาวาส  ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน 10 รูป ดังนี้


1.      หลวงพ่อบุญถึง     พูลมงคล                              2463-2465
2.      หลวงพ่อสี             เกตุพงษ์                                 2465 -2467
3.      หลวงพ่อยันต์       ฟักอร่อย                                2467-2469 
4.      หลวงพ่อยอด       กอนชม                                   2470-2472
5.      หลวงพ่อทัพ         เกตุพงษ์                                  2472-2475
6.      หลวงพ่อเย็บ        กอนจิตร                                 2475-2476  
7.      หลวงพ่อยืน         ดีวงศ์                                       2476-2481 
8.      หลวงพ่อใน         อิ่มกุศล                                     2481-2501
9.      พระครูประทีปปัจจันตเขต พุทฺธสโร (หลวงพ่อเทียบ)  2501-2542 
10.   พระครูปัจจันตเขตคณาภิรักษ์  ทีฆายุโก   (มหาทองใส)  2542-25........       
ประวัติความเป็นมา  ของวัดตาพระยา  เดิม ตาพระยา  มาจากคำว่า  ตัพพระยาคือ ทัพพระยา  ( ภาษาเขมร เรียกว่า เตือบพระยา )“เตือบแปลว่า ทัพใช้คำว่าเรียกว่าเตือบพระยา มาเรื่อยๆ ซึ่งภาษาเขมรเรียกไม่ชัดจึงกลายมาเป็นตาพระยา จนถึงทุกวันนี้  อำเภอตาพระยา นั้นที่เมื่อก่อนเรียกว่าทัพพระยาก็เนื่องจากว่าสมัยของรัฐกาลที่ ๔ ได้มีพระราชบัญชาให้เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (สิงห์ สิงหเสนี
สร้างและตั้งวัดเมื่อประมาณ ปี2460    พระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ  2505

ฐานะของวัด    วัดราษฏร์  ได้รับวัดพัฒนาตัวอย่าง ปีพ.ศ. 2529 
ปัจจุบัน   มีโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกบาลี-แผนกธรรม และสายสามัญ ม.1-2-3  (ทุกปีจำนวนพระเณร 70-80รูป)
งานส่งเสริมการศึกษา  มีโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  ศูนย์พุทธมามกะ  ศูนย์สายใยชุมชน
ผู้อาศัย    พระ 20 รูป  สามเณร 46 รูป ศิษย์ 3 ท่าน
และ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ มีพระภิกษสามเณร จำพรรษา  ดังนี้   พระ  ๑๙ รูป  สามเณร ๓๘ รูป ศิษย์ ๓ คน